รายละเอียดโครงการ


1.ชิ่อโครงการ
    ครงการสัมมนาสมาคมนักเรียนไทยในกรุงไคโร ในพระบรมราชูปถัมภ์ และนักเรียนเก่าอียิปต์
2.รายละเอียด
     กระทรวงการต่างประเทร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร  จัดโครงการสัมมนาสมาคมนักเรียนไทยในกรุงไคโร ในพระบรมราชูปถัมภ์และศิษย์เก่าอียิปต์
วันสัมมนา วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
สถานที่ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ กรุงเทพมหานคร
3.  หลักการและเหตุผล
3.1  การสนับสนุน นศ. ไทยมุสลิมที่ศึกษาอยู่ในต่างประเทศเป็นการดำเนินการตามนโยบายหลักประการหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญซึ่งกระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร ตลอดจนสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ของไทยที่มี นร. นศ. ไทย เหล่านี้ศึกษาอยู่ ได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าวตลอดมา อาทิ การดูแล/สนับสนุนด้าน งปม. สำหรับสมาคม/ชมรม นศ. ไทยในการดำเนินกิจกรรมต่างๆเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง นศ. ความสัมพันธ์ระหว่าง นศ. และ สอท./สกญ.
3.2  ปัจจุบันมีศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรที่จบการศึกษาไปแล้วจำนวนหลายพันคนที่มีความสามารถและได้ไปทำงานอยู่ในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาคราชการและเอกชน ดังนั้นหากบุคคลเหล่านี้สามารถระดมความคิดความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้ ก็จะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาทุกด้านเพื่อประโยชน์ของตนเอง ครอบครัว หมู่บ้าน ท้องถิ่น ภูมิภาคและประเทศชาติต่อไปอย่างดียิ่ง นอกจากนี้ สมาคมนักเรียนไทยไคโรเดิม ได้รับสถานะให้เป็นสมาคมนักเรียนไทยในกรุงไคโร ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อปี 2550 เป็นองค์กรที่มีการทำงานเป็นระบบและมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับสถานเอกอัครราชทูตฯ อย่างไรก็ดี สมาคมฯ จะมีความเข้มแข็งมากขึ้นหากได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆ จากศิษย์เก่า อดีตสมาชิกที่ได้จบการศึกษาไปแล้ว เพื่อสร้างเครือข่ายและช่วยกันพัฒนาช่วยเหลือรุ่นน้องศิษย์ปัจจุบัน
3.3  ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งด้านกระบวนการ/ระบบการรับนักศึกษา ซึ่งมีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะกับนักศึกษาต่างชาติที่ต้องการจะเข้าศึกษาจะต้องผ่านการทดสอบภาษาอาหรับ และสถานเอกอัครราชทูตฯ พบว่า มีนักศึกษาไทยจำนวนมากสอบไม่ผ่านทำให้ต้องเสียเวลาศึกษาภาษาเป็นเวลา 1 ปี และมีค่าใช้จ่าย ดังนั้น ฝ่ายการศึกษาของไทยควรที่จะมีการปรับระบบมาตรฐานการศึกษาเสริมเพื่อให้นักเรียนไทยที่ต้องการไปศึกษาที่อียิปต์ไม่ประสบปัญหานี้ 
3.4  สอท. เห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากจะจัดการสัมมนาใหญ่ในประเทศไทยโดยเชิญอดีตนักศึกษาที่อียิปต์/สมาชิกสมาคมนักเรียนไทยในกรุงไคโร ในพระบรมราชูปถัมภ์และสมาชิกปัจจุบันมาเข้าประชุมเสวนาร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยและนักเรียนที่ต้องการไปศึกษาในประเทศอียิปต์ เพื่อให้การเดินทางไปศึกษามีความราบรื่นและกลับมาทำงานเพื่อพัฒนาประเทศไทยต่อไปได้ในอนาคต                                                                                                                                                                                                         
4.  วัตถุประสงค์
4.1  เพื่อสร้างเครือข่ายและการประสานงานอย่างเป็นรูปธรรมภายในกลุ่มผู้ที่กำลังศึกษาและผู้ที่จบการศึกษาไปแล้วจากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรและระหว่างกลุ่มนักศึกษาปัจจุบันและอดีตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ด้วยกันเอง ตลอดจนระหว่างกลุ่มกับภาคราชการ
4.2  เครือข่ายการประสานงานของกลุ่มบุคคลเป้าหมายในครั้งนี้ ประกอบกับความเข้าใจอันดีระหว่างสมาชิกด้วยกันเองและระหว่างกลุ่มกับภาคราชการย่อมสร้างให้เกิดพลังในการนำความรู้และประสบการณ์มาเป็นประโยชน์คือ การพัฒนาตนเองและชุมชน ตลอดจนการพัฒนาในระดับภูมิภาคและประเทศไทย อันจะมีส่วนสำคัญ   อีกประการหนึ่งต่อการสร้างความเจริญและสันติสุขสู่บริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ 
4.3  เพื่อการระดมสมองระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาด้านการศึกษาของนักเรียนไทยมุสลิมทั้งในประเทศและผู้ที่ต้องการเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ
4.4  เพื่อให้นักศึกษาไทยมุสลิมเกิดความภาคภูมิใจต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาร่วมกันด้วยความสามัคคีและสร้างนิสัยการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบให้มากขึ้น
5.  กลุ่มเป้าหมาย
อดีตนักศึกษาไทยในอียิปต์และนักศึกษาไทยในอียิปต์ปัจจุบัน/หน่วยงานราชการ วิชาการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง 
6.  วิธีการดำเนินงาน
6.1  สถานเอกอัครราชทูตฯ หารือผู้ที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการจัดการสัมมนา
6.2  จัดตั้งคณะกรรมการจัดงาน 
6.3  เอกอัครราชทูตฯ และเจ้าหน้าที่เดินทางไปประชุมกับคณะกรรมการจัดงาน 
6.4  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์งานดังกล่าว
6.5  การจัดสัมมนา 1 วัน  
6.6  การจัดทำรายงานการสัมมนาและแจกจ่ายไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคราชการ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และองค์กร/คณะกรรมการด้านศาสนาอิสลามต่างๆ ในประเทศไทย ฯลฯ